จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง
20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 785 กิโลเมตร
ขนาดพื้นที่
จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 785 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่
อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดพะเยาและลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าและจังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดพะเยาและลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าและจังหวัดเชียงใหม่
แนวเขตชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า ด้านอำเภอแม่จัน แม่สาย แม่ฟ้าหลวง และเชียงแสน รวม 130 กิโลเมตร แยกเป็นแนวภูเขา 100 กิโลเมตร แนวแม่น้ำสาย 10 กิโลเมตร และแนวแม่น้ำรวก 20 กิโลเมตร
แนวเขตชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระยะทาง 180 กิโลเมตร โดยเป็นแนวแม่น้ำโขง 90 กิโลเมตร และแนวภูเขา 94 กิโลเมตร
แนวเขตชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระยะทาง 180 กิโลเมตร โดยเป็นแนวแม่น้ำโขง 90 กิโลเมตร และแนวภูเขา 94 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
เชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นราบสูงเป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย เวียงป่าเป้า และเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500 - 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน เมือง แม่จัน แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ มีความสูงประมาณ 410 - 580 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นราบสูงเป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย เวียงป่าเป้า และเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500 - 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน เมือง แม่จัน แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ มีความสูงประมาณ 410 - 580 เมตร จากระดับน้ำทะเล
สภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิ ในห้วงปี 2544 – 2548 จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 33.1
องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38.8 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2544 และวันที่ 9 พฤษภาคม 2546
ฝน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี
ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8.0 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิ ในห้วงปี 2544 – 2548 จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 33.1
องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38.8 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2544 และวันที่ 9 พฤษภาคม 2546
ฝน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี
ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8.0 องศาเซลเซียส
สังคมและวัฒนธรรม
จังหวัดเชียงรายมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนาอันเป็นอัตลักษณ์ที่โดด เด่น มีประเพณี ภาษาท้องถิ่น ศิลปกรรม โบราณสถานที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะชนเผ่าชาวเขากลุ่มต่าง ๆ ประชาชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัธยาศัยไมตรีดี อ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเชื่อในวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น รวมทั้งศาสนา มีวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประชากรมีอัตราการเรียนต่อหลัง จบการศึกษาภาคบังคับอยู่ในระดับสูง มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล ภาคประชาสังคมและประชาชนมีการรวมกลุ่ม และมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าเชียงรายมีแหล่งโบราณคดีมากถึง 200 แหล่ง แต่ในปัจจุบันแหล่งโบราณคดีบางแห่งก็ถูกบุกรุก ไถกลบเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อทำการเกษตรและแหล่งประกอบการอื่น ๆ
ในบรรดาแหล่งโบราณคดีทั้งหลายของเชียงราย เมืองโบราณที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมของล้านนาที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต คือ เมืองโบราณเชียงแสน ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรได้เข้าไปทำการศึกษาจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้อง
นอกจากนี้เชียงรายยังมีแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ที่ควรทำการศึกษาอีกมากมายหลายแหล่ง เช่น เวียงหนองหล่ม อำเภอเชียงแสน เวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า และดงเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น
เศรษฐกิจ
ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงราย คือ ภาคการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดถึงร้อยละ 32 ส่วนภาคการค้าส่งและค้าปลีกมีสัดส่วนร้อยละ 17 และภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 12
พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ลำไย ลิ้นจี่ ยางพารา และพืชผัก นอกจากนี้ยังมีพืชเศรษฐกิจใหม่ที่จังหวัดมุ่งพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเฉพาะถิ่น ได้แก่ ชา กาแฟ สับปะรด เป็นต้น
เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกชามากที่สุดของประเทศ และในปี 2547 จังหวัดได้กำหนดให้ชาเป็นพืชยุทธศาสตร์หลัก โดยส่งเสริมให้มีการปลูกชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนพืชอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ และผลักดันให้จังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์กลางผลิตชาพันธุ์ดีของประเทศ พันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ ชาอัสสัม ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิม และชาจีน ที่เริ่มนิยมปลูกเนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง แม่สรวย และเวียงป่าเป้า
พืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ กาแฟ เนื่องจากมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่สรวย แม่ฟ้ าหลวง เมือง และแม่สาย
อุตสาหกรรม
มีโรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย (ยอดสะสมถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551) รวมทั้งสิ้น 783 โรงงาน เงินลงทุนรวม 8,440 ล้านบาท จ้างงานรวม 13,441 คน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร (โรงสีข้าว กิจการบ่มใบชา บ่มใบยาสูบ อบเมล็ดพืช) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอโลหะ อุตสาหกรรมที่สนับสนุนกิจการก่อสร้าง โดยอำเภอเมืองมีโรงงานตั้งอยู่มากที่สุด รองลงมาคือ อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย
การค้าชายแดน
จากที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายที่เป็นเมืองชายแดนด้านทิศเหนือ จึงมีจุดเด่นทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (GMS) ซึ่งประกอบด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) สหภาพพม่า และ สปป.ลาว
นอกจากเป็นจังหวัดชายแดนแล้ว เชียงรายยังมีโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจและนักท่องเที่ยว อาทิ
- ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงราย
- เส้นทางการคมนาคมทางบกเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงภาคเหนือตอนบน ทั้งยังเชื่อมโยงไปยังประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบนได้ถึง 2 เส้นทาง คือ เส้นทาง R3Aไทย ลาว จีน และเส้นทาง R3B ไทย พม่า จีน
- การคมนาคมทางน้ำ ทั้งด้านการขนส่งและการเดินทางโดยใช้แม่น้ำโขง ในจังหวัดเชียงรายมีท่าเทียบเรือที่อำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ
ระบบสาธารณูปโภคเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการค้าชายแดน การขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและไปยังต่างประเทศ ตลอดจนการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงภาคเหนือตอนบนกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และต่อไปยังประเทศจีนอีกด้วย
ในปี 2551 จังหวัดเชียงราย มีมูลค่าการค้าชายแดนรวม 13,713 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น